Categories
News

ผ่าตัดลดเหนียง VS ดูดเหนียง ควรทำแบบไหนดี

ผ่าตัดลดเหนียง VS ดูดเหนียง ควรทำแบบไหนดี
สาเหตุหลักปัญหาเหนียงใต้คาง

– ไขมันชั้นใต้ผิวหนังบริเวณใต้คางมีปริมาณมาก มักเกิดจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ไม่ควบคุมอาหาร ไม่ออกกำลังกาย

– ไขมันชั้นลึกใต้คางมีปริมาณมาก ไขมันประเภทนี้ มักแทรกตัวอยู่ตามชั้นกล้ามเนื้อ เกิดจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ไม่ควบคุมอาหาร ไม่ออกกำลังกาย หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะมีการสะสมของไขมันในชั้นที่ลึกขึ้น ไม่เพียงแต่บริเวณชั้นใต้ผิวหนัง

– กล้ามเนื้อภายในบริเวณใต้คางและลำคอ (SMAS) หย่อนคล้อย เกิดจากอายุที่เพิ่มภาพขึ้น มีความชราภาพเซลล์กล้ามเนื้อ รวมไปถึงองค์ประกอบโครงสร้างที่ช่วยกันยึดกันใต้คางเริ่มหย่อนตัวลง

– ลักษณะกล้ามเนื้อใต้คางแยก(พบได้ตั้งแต่ในคนอายุน้อย) มักจะเป็นลักษณะทางพันธุกรรมของกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคล

– ผิวหนังบริเวณใต้คางหย่อนคล้อย เกิดจากอายุที่เพิ่มภาพขึ้น มีความชราภาพของเซลล์ผิวหนัง รวมไปถึงการขาดการดูแลคุณภาพผิวใต้คาง เหนียง ลำคอ สะสมมานาน

ดูดไขมันเหนียงใต้คาง

เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะไขมันใต้ผิวหนังส่วนเกินบริเวณใต้คาง

ข้อดี

– แผลมีขนาดเท่ารูเข็ม เพียง1-2 มิลลิเมตร ไม่ต้องพักฟื้น
– กำจัดไขมันถาวร ด้วยเทคนิค 3 ways ดูดไขมันเหนียงและกรอบหน้าช่วงล่าง ดีกว่าการใช้เลเซอร์ยกกระชับ หรือฉีดสลายไขมัน

ข้อเสีย

– ไม่ได้ตัดหนังส่วนเกิน ไม่ได้แก้ไขกล้ามเนื้อ

การผ่าตัดเหนียง

หากมีปัญหาการหย่อนยานของกล้ามเนื้อภายใน, กล้ามเนื้อใต้คางแยกตามลักษณะพันธุกรรม, มีการสะสมของไขมันชั้นลึกที่แทรกตามกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการมีหนังส่วนเกิน การผ่าตัดลดเหนียงเป็นการรักษาที่แก้ไขปัญหาทั้งไขมันใต้เหนียงส่วนเกิน กล้ามเนื้อใต้เหนียง และผิวหนังภายนอกที่หย่อนยาน ทำให้เห็นผลชัดเจนกว่าการดูดไขมันเหนียง/ไขมันใต้คางเพียงอย่างเดียว

ข้อดี

– สามารถทำพร้อมกับการเสริมคางได้
– สามารถทำพร้อมกับการขูดเลาะสารฟิลเลอร์ที่คางได้
– เห็นผลชัดเจน ในกรณีที่มีปัญหากล้ามเนื้อและผิวหนังที่หย่อนร่วมด้วย

ข้อเสีย

– มีรอยแผลขนาดประมาณ4-5เซนติเมตร (ขนาดขึ้นกับแต่ละบุคคล) ซ่อนใต้คาง

การตัดเหนียงร่วมกับดูดไขมันเหนียง

1. ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะทางเกี่ยวกับปัญหาเหนียงใต้คาง และออกแบบจุดที่ต้องการให้เหนียงลดลง

2. ทายาชา 30นาที และ ฉีดยาชาชนิดพิเศษบริเวณใต้คาง

3. ดูดไขมันโดยใช้อุปกรณ์ดูดไขมันขนาดเล็ก บริเวณกรอบหน้าขอบล่างและเหนียงด้านข้าง

4. เปิดแผลบริเวณใต้คาง โดยแผลขนาดประมาณ 4-5 ซม.ซ่อนอยู่ใต้เหนียง เพื่อดึงกระชับกล้ามเนื้อภายในบริเวณใต้คาง เพื่อยกกระชับเหนียง พร้อมเลาะไขมันชั้นลึกที่แทรกตามกล้ามเนื้อออก(หากมี)

5. ตัดผิวหนังภายนอกส่วนเกินซึ่งเกิดจากการเหี่ยวย่นตามวัยออก

6. เย็บยกกระชับด้วยไหม 3-4ชั้น และเย็บปิดแผลขนาดเล็กพิเศษ

ข้อดี

– สามารถทำพร้อมกับดูดเหนียงและกรอบหน้าได้
– เห็นผลชัดเจน ในกรณีที่มีปัญหากล้ามเนื้อและผิวหนังที่หย่อนร่วมด้วย และได้เก็บไขมันชั้นใต้ผิวหนังบริเวณกรอบหน้าด้วย

ข้อเสีย

– มีรอยแผลขนาดประมาณ4-5เซนติเมตร (ขนาดขึ้นกับแต่ละบุคคล) ซ่อนใต้คาง
– มีความช้ำบวมมากกว่า รายที่ดูดไขมันเหนียง หรือตัดเหนียงเพียงอย่างเดียว